Disease

Home > Disease

Dashboard

รายงานโรค

โรคโควิด 19

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

หรือ โรคโควิด 19

 

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตาม พระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. 2558

โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2)

อาการ

          มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ไอแห้งๆ เจ็บคอ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก บางรายอาจมีปอดอักเสบรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อบางรายอาจไม่แสดงอาการ และอาจจะมีอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย เป็นต้น การรับรู้เกี่ยวกับกลิ่น รส ผิดปกติ เช่น อาจจะมีจมูกไม่ได้กลิ่น หรือ ลิ้นไม่รับรส หรืออาจจะมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง มีอาการตาแดง ได้

การแพร่เชื้อ

  • โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูก หรือปาก ซึึ่งปนเปื้อนออกมาเมื่อผู้ป่วยโรคโควิด 19 ไอ จาม หรือพูด

ระยะฟักตัว

ระยะเวลา นับจากการติดเชื้อ และการแสดงอาการ มีระยะเวลา 1-14 วัน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน มากกว่าร้อยละ 97 ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการภายใน 14 วัน

การวินิจฉัย ตรวจ ATK หรือPCR

การรักษา

กรณีตรวจไม่พบเชื้อ SARS-CoV-2

1) พิจารณาดูแลรักษาตามความเหมาะสม

2) ให้ปฏิบัติตาม DMH อย่างเคร่งครัด ประมาณ 5 วัน และให้

ระมัดระวังการแพร่เชื้อไปยงผู้อื่น

3) ถ้ามีอาการรุนแรงให้พิจารณารับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อการตรวจ

วินิจฉัย และรักษาตามความเหมาะสมพิจารณาปฏิบัติตาม

droplet precautions ระหว่างรอผลการวินิจฉัยสุดท้าย

4) กรณีอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง พิจารณาส่งตรวจ ATK ซ้ำ

รวมทั้งสาเหตุอื่นตามความเหมาะสมแต่

กรณีเจอเชื้อให้การรักษาตามอาการผู้ป่วย หากไม่รุนแรงรักษาแบบผู้ป่วยนอก  

มาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19

  1. กลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำปี

          วัคซีนโควิด 19 ประจำปี ฉีดอย่างไร

💚ฉีดปีละ 1 เข็ม เริ่มปี 2566 เป็นต้นไป

💚ฉีดตั้งแต่เดือนเมษายน ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน

💚ฉีดห่างจากเข็มสุดท้าย หรือการติดเชื้อครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 3 เดือน

💚ฉีดพร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ โดยฉีดที่ต้นแขนคนละข้าง

💚หากฉีดไม่พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะห่างกี่วันก็ได้

      “ผู้ที่ภูมิคุ้มกันขึ้นไม่ดี สามารถฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) ได้

  1. สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ
Picture1
 
     3. ตรวจ ATK เมื่อมีไข้ มีอาการทางเดินหายใจ
 

Picture2 

มาตรการป้องกันโควิด 19 แบบครอบจักรวาล Universal Prevention

  1. เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ในสถานที่แออัด
  2. สวมหน้ากากอนามัย เมื่อมีความเสี่ยงหรือไปสถานที่แออัด
  3. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า จมูก ปาก รวมถึงหน้ากากอนามัย
  5. ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  6. กินอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลาง
  7. ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด และควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้น
  8. ตรวจ ATK เมื่อมีอาการทางเดินหายใจ

 

เน้น    

ฉีดวัคซีนครบตามกำหนด      สวมหน้ากากอนามัย  รักษาระยะห่าง          หลีกเลี่ยงไปสถานที่แออัด

ล้างมือบ่อยๆ   เมื่อมีอาการทางเดินหายใจให้ตรวจ ATK

สื่อประชาสัมพันธ์

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า