News

Home > News

News

เหตุการณ์โรคในประเทศ
 

สธ.เผย “อหิวาต์” จ.ตาก ควบคุมได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม ออก 6 มาตรการเข้มป้องกันช่วงสังสรรค์ปีใหม่

icon 04/01/2568 เหตุการณ์โรคในประเทศ
สธ.เผย “อหิวาต์” จ.ตาก ควบคุมได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม ออก 6 มาตรการเข้มป้องกันช่วงสังสรรค์ปีใหม่
ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 แจง WHO ประกาศ “อหิวาตกโรค” เป็นภาวะฉุกเฉินใหญ่ เพื่อให้ทุกประเทศร่วมเฝ้าระวังป้องกัน หลังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหลายประเทศ ล่าสุดสถานการณ์ จ.ตาก อยู่ในการควบคุม มีผู้ป่วยสะสม 4 ราย ทั้งหมดหายดีแล้ว ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ออก 6 มาตรการเข้มป้องกันช่วงสังสรรค์ช่วงปีใหม่ ลดความเสี่ยงจากอาหาร น้ำ สุขา และตลาด
           วันนี้ (1 มกราคม 2568) นพ.สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 2 กล่าวถึงกรณีองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของอหิวาตกโรคเป็น “ภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่” เนื่องจากพบผู้ป่วยจำนวนมากและมีหลายประเทศที่พบการระบาดเพิ่มขึ้นนั้น เพื่อให้ทุกประเทศมีความตระหนักและร่วมกันป้องกัน แต่ยังไม่ถึงขั้นประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศเหมือนการระบาดของโรคโควิด 19 ที่ผ่านมา ในส่วนของประเทศไทย มีการเฝ้าระวังอหิวาตกโรคมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็น 1 ใน 57 โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามกฎหมาย โดยหลังจากที่มีการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคในชเวโก๊กโก่ ประเทศเมียนมา ซึ่งติดกับชายแดนจังหวัดตาก กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตากเปิดศูนย์ปฏิบัติการฯ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งขณะนี้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างดี ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2567 มีผู้ป่วยสะสม 4 ราย แบ่งเป็น ชาวต่างชาติ 2 ราย คนไทย 2ราย- และมีผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ อีก3ราย ต่างชาติ 2 ราย คนไทย 1 ราย ทั้งหมดได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว และไม่มีผู้เสียชีวิต
         “อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการเฝ้าระวังป้องกันอหิวาตกโรคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ ที่มีการเลี้ยงสังสรรค์รับประทานอาหารร่วมกัน จะมีความเสี่ยงเกิดการแพร่เชื้อได้ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลักมาจากเรื่องสุขอนามัย สุขาภิบาลอาหารและน้ำ จึงต้องเน้นให้ความรู้การป้องกันโรค โดยเฉพาะเรื่องของการกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และเข้มงวดผู้ประกอบการอาหาร เครื่องดื่ม และตลาด” นพ.สุภโชคกล่าว
           นพ.สุภโชคกล่าวต่อว่า คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตาก จึงได้กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันโรค ดังนี้ 1.เจ้าของตลาดทุกประเภททุกแห่ง ให้ล้างตลาด ห้องสุขา ตามหลักการสุขาภิบาล รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อทุกวัน และให้เจ้าของประกอบการร้านอาหาร เครื่องดื่ม รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกชนิดดำเนินการตามหลักการสุขาภิบาล ปฏิบัติตามสุขลักษณะของสถานที่จําหน่ายอาหาร รวมถึงผู้สัมผัสอาหารทุกคน 2.หน่วยงานราชการ โรงเรียน ศาสนสถาน องค์กร เอกชน ผู้รับผิดชอบห้องสุขาสาธารณะ ให้ล้างทำความสะอาดห้องสุขาตามหลักการสุขาภิบาล รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อทุกวัน 3.หน่วยงาน องค์กร เอกชน ผู้รับผิดชอบระบบประปา ให้ปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาตามมาตรฐาน โดยกำหนดให้มีค่าคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำต้นท่อจ่ายไม่น้อยกว่า 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (ppm) ปลายท่อจ่าย ไม่น้อยกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (ppm) 4.ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันสมควรสงสัยติดเชื้ออหิวาตกโรค มารับการตรวจคัดกรองหรือรักษา จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อของโรค 5.ให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ เช่น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่ผลิตน้ำดื่ม/น้ำแข็ง ที่มีอหิวาตกโรคเกิดขึ้นหรือมีเหตุว่าปนเปื้อนเชื้อ ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในการตรวจคัดกรองโรคและกำจัดเชื้อ หรือทำลายเชื้อ และ 6.ขอความร่วมมือหน่วยงานราชการ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และเครือข่ายภาคประชาชน สื่อสารข้อมูลความรู้การป้องกัน การปฏิบัติตัว ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง
 
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า