News

Home > News

News

เหตุการณ์โรคในประเทศ
 

อาการโควิดล่าสุดปี 2567 เบื้องต้นเป็นยังไง กี่วันหาย อันตรายหรือไม่

icon 16/05/2567 เหตุการณ์โรคในประเทศ
อาการโควิดล่าสุดปี 2567 เบื้องต้นเป็นยังไง กี่วันหาย อันตรายหรือไม่

โควิดสายพันธุ์ใหม่ระบาดจริงไหม
ในปี 2567

  จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า โควิดล่าสุดที่ระบาดอยู่ในไทยขณะนี้เป็นสายพันธุ์ JN.1 ที่เป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน ซึ่งกลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ย่อยโอมิครอนอย่าง BA.2.86 อีกที ดังนั้นก็ยังไม่ใช่โควิดสายพันธุ์ใหม่อย่างที่กังวลกัน ทั้งนี้ โควิด JN.1 มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ หลายเท่า อีกทั้งสามารถติดเชื้อซ้ำได้ แต่ความรุนแรงของโรคไม่ได้เพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดิม

          อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม 2567 ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า ทางองค์การอนามัยโลกกำลังจับตาโอมิครอนสายพันธุ์ KP.3 ที่อาจแพร่ระบาดทั่วโลกและในไทยแทนที่สายพันธุ์ JN.1 ในอนาคต เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว 

         ขณะที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ KP บ้างแล้ว ได้แก่ KP.1.1, KP.2, KP.2.2, KP.3 และ KP.4.1

อาการโควิดล่าสุด 2567 เป็นยังไง

  ก่อนหน้านี้อาการโควิดที่พบได้คือ ไอแห้ง เจ็บคอ มีไข้ ปวดศีรษะ คัดจมูก มีน้ำมูก มีเสมหะ ปวดเมื่อยร่างกาย บางคนอาจมีอาการตาแดง ท้องเสีย อ่อนเพลีย หูอื้อ เหนื่อยหอบ กลืนลำบาก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

          แต่สำหรับอาการโควิดล่าสุด ปี 2024 มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดย นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ให้ข้อมูลถึงอาการโควิดหลังสงกรานต์ ว่าปัจจุบันไทยยังเป็นสายพันธุ์ JN.1 และรูปแบบของอาการโควิดเปลี่ยนไป เป็นการบ่งชี้ว่าความรุนแรงน้อยลง จากเดิมจะมีอาการทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด กลายเป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก แทนมากกว่า โดยผู้ที่ติดเชื้อในประเทศมีอาการเด่น ดังนี้

  • เจ็บคอมาก ๆ 

  • มีไข้ต่ำ 

  • มีน้ำมูก 

  • คัดจมูกเล็กน้อย 

  • จมูกได้กลิ่น 

  • ไม่ค่อยไอเหมือนเดิมที่ผ่านมา 

          อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยโควิดที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศจะมีอาการไข้ มีอาการไอมากกว่า แต่ไม่ค่อยเจ็บคอมากเท่าการติดเชื้อในประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นเพราะติดเชื้อคนละสายพันธุ์

ควรตรวจ ATK เมื่อไร

          หากมีเชื้อโควิดในร่างกายไม่มาก การตรวจโควิดด้วย ATK อาจไม่พบเชื้อ ดังนั้น ถ้ามีอาการไม่สบาย เช่น เจ็บคอมาก มีไข้ต่ำ ๆ ควรหมั่นตรวจ ATK เรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 4-5 หลังจากเริ่มมีอาการ หากอาการป่วยรุนแรงขึ้นก็ควรไปพบแพทย์และเข้ากระบวนการรักษาอย่างเหมาะสม

โควิดกี่วันหาย

จะหายป่วยโควิดเมื่อไรนั้นขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องจำนวนเชื้อและสายพันธุ์ของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเชื้อโรค

          ทั้งนี้ หากอ้างอิงจากการแพร่เชื้อตามข้อมูลของ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะพบว่าเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อและแยกตัว 5 วันไปแล้วจะมีโอกาสแพร่เชื้อได้อยู่ที่ 50% แต่ถ้าผ่าน 7 วันไปแล้ว โอกาสแพร่เชื้อจะลดลงเหลือ 25% และถ้าผ่านไป 10 วัน โอกาสแพร่เชื้อจะเหลือเพียง 10% แต่ปลอดภัยที่สุดคือ 14 วันไปแล้วที่จะไม่แพร่เชื้ออีก

          ดังนั้น การกักตัวอย่างน้อย 5 วันตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข สามารถลดโอกาสแพร่เชื้อได้ หรือถ้าเป็นไปได้ควรกักตัวสัก 7-10 วัน จนกว่าจะไม่มีอาการป่วย และตรวจ ATK แล้วเป็นลบ จึงกลับออกมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ อย่างไรก็ตาม ในบางคนอาจหลงเหลืออาการอยู่เล็กน้อย เช่น หายโควิดแต่ยังไอ นั่นเป็นเพียงการอักเสบของอวัยวะที่ยังตกค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นในภายหลัง

วิธีรักษาโควิดที่บ้าน ปี 2567
กักตัวกี่วัน

          ข้อมูลจากประกาศของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านเหมือนผู้ป่วยนอกทั่วไป โดยผู้ป่วยควรกักตัวที่บ้านอย่างน้อย 5 วัน เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังผู้อื่น และไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง 

          สำหรับวิธีรักษาโควิดที่บ้านตามแนวทางปัจจุบันยังคงเป็นการรักษาตามอาการที่ปรากฏ เช่น รับประทานยาพาราเซตามอลเมื่อมีไข้ ใช้ยาแก้ไอเมื่อมีอาการไอ เป็นต้น ซึ่งอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ ยกเว้นว่ามีอาการทรุดหนักลง หายใจลำบาก เช่นนี้ควรรีบกลับไปพบแพทย์

           ทั้งนี้ การติดโควิด 19 ในปัจจุบันก็ยังพบผู้ป่วยที่มีอาการหนักอยู่บ้าง โดยมีปอดอักเสบ ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และยังคงมีผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 เช่นกัน ดังนั้น ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพกันให้ดี ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้านหรืออยู่ในที่ชุมชน หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ เพื่อป้องกันตัวเองด้วยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้องกับโควิดล่าสุด

แหล่งที่มา : https://health.kapook.com/view277041.html

 

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า