News

Home > News

News

เหตุการณ์โรคในประเทศ
 

กรมวิทย์ฯ เผยผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ ยืนยันวัคซีนยังมีประสิทธิภาพป้องกัน แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีน

icon 10/05/2567 เหตุการณ์โรคในประเทศ
กรมวิทย์ฯ เผยผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ ยืนยันวัคซีนยังมีประสิทธิภาพป้องกัน แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีน
  • นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – ปัจจุบันว่า ทั่วโลกพบไข้หวัดใหญ่ชนิด A(H3N2) ไข้หวัดใหญ่ชนิด A(H1N1) pdm09 และไข้หวัดใหญ่ชนิด B (Victoria lineage)  เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ส่วนสถานการณ์การระบาดในประเทศไทย ปัจจุบันพบไข้หวัดใหญ่ชนิด A(H3N2) มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 41.14% รองลงมาคือไข้หวัดใหญ่ชนิด B (Victoria) 39.64% ในขณะที่ไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 (pdm09) มีสัดส่วน 19.22% ซึ่งเมื่อวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ในประเทศไทย (1 ตุลาคม 2566-เมษายน 2567)
  • ด้วยเทคนิค Whole genome sequencing วิเคราะห์ลำดับพันธุกรรมทั้งจีโนม และประเมินความสอดคล้องกับสายพันธุ์วัคซีนที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศใช้ในการผลิตวัคซีนทางซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต้ ประจำปี 2567 พบว่าสายพันธุ์ A(H3N2)  และ B มีความใกล้เคียงกับสายพันธุ์วัคซีนทั้งจากซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต้ สำหรับวัคซีนที่ใช้ทางซีกโลกเหนือ จะผลิตและจำหน่ายในตลาดโลก ประมาณเดือนสิงหาคม และจะนำเข้ามาในประเทศไทยประมาณเดือนกันยายน ดังนั้น ผู้ที่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ซึ่งแนะนำฉีดก่อนเข้าฤดูฝน จึงต้องใช้วัคซีนทางซีกโลกใต้ซึ่งผลิตและจำหน่ายในตลาดโลกก่อน ซึ่งยังมีผลต่อการป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่
    ที่พบในประเทศไทยถึง 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A(H3N2) และ influenza B ส่วน A(H1N1) อาจมีภูมิคุ้มกันป้องกันข้ามสายพันธุ์ได้บ้าง
800P_Graph_02 
 
  • นายแพทย์ยงยศ กล่าวต่อว่า จากการวิเคราะห์ตำแหน่งการกลายพันธุ์บนยีน ของเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบในประเทศไทยช่วงเดือนตุลาคม 2566-เมษายน 2567 จำนวน 1,332 ตัวอย่าง โดยอ้างอิงข้อมูลตำแหน่งยีนดื้อยาจากองค์การอนามัยโลกวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ไม่พบยีนบ่งชี้การดื้อยาของเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H3 และ ชนิด B ส่วนเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A(H1N1) pdm09 พบยีนบ่งชี้การดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ที่ตำแหน่ง H275Y จำนวน 1 สายพันธุ์ คิดเป็นอัตราการดื้อยาร้อยละ 0.39 ทั้งนี้ ยังไม่พบยีนบ่งชี้การดื้อยากลุ่ม Neuraminidase Inhibitor ชนิดอื่น
 
  • อย่างไรก็ตาม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังคงเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง การตรวจพบยีนดื้อยาที่รวดเร็ว จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการวางแผนการใช้ยาต้านไวรัสที่เหมาะสม ตลอดจนวางมาตรการการควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ และขอให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี ควบคู่กับการป้องกันตนเองด้วยการล้างมือบ่อยๆ ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดและหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดี เป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น หากสงสัยป่วย แนะนำให้สวมหน้ากากทุกครั้ง
แหล่งที่มา : https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/2190
 
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า