News

Home > News

News

ข่าวสารทั่วไป
 

ปลัด สธ. ย้ำกลุ่มเสี่ยง 607 รับวัคซีนโควิดลดความเสี่ยงเสียชีวิต พร้อมกำชับทุกจังหวัดกำจัดลูกน้ำยุงลายสกัดไข้เลือดออก

icon 24/08/2566 ข่าวสารทั่วไป
ปลัด สธ. ย้ำกลุ่มเสี่ยง 607 รับวัคซีนโควิดลดความเสี่ยงเสียชีวิต พร้อมกำชับทุกจังหวัดกำจัดลูกน้ำยุงลายสกัดไข้เลือดออก

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยแนวโน้มสถานการณ์โรคโควิด 19 ค่อนข้างทรงตัว แต่ผู้เสียชีวิตยังเป็นกลุ่มเสี่ยง 607 ที่ไม่ได้รับวัคซีน ไม่ได้รับเข็มกระตุ้น หรือรับเข็มกระตุ้นนานเกิน 3 เดือน ย้ำฉีดวัคซีนโควิดคู่ไข้หวัดใหญ่เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงอาการรุนแรงและเสียชีวิต ส่วนไข้เลือดออกพบป่วยเพิ่มสัปดาห์ละ 5-6 พันรายเสียชีวิตสะสม 58 ราย เป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ กำชับทุกจังหวัดเร่งรัดกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะโรงพยาบาล โรงเรียน ศาสนสถาน

          วันนี้ (18 สิงหาคม 2566) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี  นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญ ว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ในประเทศไทย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 6-12 สิงหาคม 2566) มีผู้ป่วยรายใหม่ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 318 ราย เฉลี่ย 45 รายต่อวัน ผู้ป่วยปอดอักเสบ 136 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 83 ราย และเสียชีวิต 7 ราย เฉลี่ย 1 รายต่อวัน แนวโน้มสถานการณ์ค่อนข้างทรงตัว แต่ที่สำคัญคือ ผู้เสียชีวิตยังคงเป็นกลุ่ม 607 ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น หรือฉีดเข็มกระตุ้นมานานเกิน 3 เดือน ทั้งนี้ ได้สั่งการเน้นย้ำให้ทุกจังหวัดรณรงค์กระตุ้นให้กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ภายในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงอาการรุนแรงและการเสียชีวิต รวมทั้งสื่อสารแนวทางป้องกันโรคส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ

          นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ขณะนี้มีผู้ป่วยสะสม 65,552 ราย โดยช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 5,000-6,000 รายต่อสัปดาห์ ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีโรคไข้เลือดออกแล้ว 31 จังหวัด และเปิดในระดับเขตรวม 7 เขต ส่วนผู้เสียชีวิตสะสมมี 58 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ถึง 40 ราย ปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิต คือ ช่วงแรกที่ป่วยมักไม่ได้คิดถึงโรคไข้เลือดออก และได้รับยากลุ่มเอ็นเสดเพื่อลดไข้ ทำให้เลือดออกง่ายและมีความเสี่ยงเกิดภาวะช็อกจนเสียชีวิต ดังนั้น หากมีไข้ รับประทานยาลดไข้ 2 วันแล้วไม่ดีขึ้น ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคไข้เลือดออกและรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคให้ชัดเจน และเนื่องจากโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ สิ่งสำคัญที่จะช่วยได้คือ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคทุกสัปดาห์ ซึ่งจากการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานที่ต่างๆ ยังพบมากทั้งในโรงเรียน โรงพยาบาล ครัวเรือน ศาสนสถาน โรงงาน โรงแรม และสถานที่ราชการ รวมทั้งกำจัดยุงในบ้านเรือนและป้องกันยุงกัดเมือพบผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก

          “ได้มอบหมายให้กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประสานไปถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อสั่งการหน่วยงานในสังกัดให้ร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในหน่วยงานให้หมดไป และเร่งรัดการควบคุมโรคในพื้นที่ระบาด” นพ.โอภาสกล่าว

 
แหล่งที่มา 
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า