News

Home > News

News

เหตุการณ์โรคในประเทศ
 

เปิดสถิติ "ไข้หวัดใหญ่" ปี 2566 ทั่วประเทศป่วยพุ่งกว่า 4.6 แสนราย

icon 08/01/2567 เหตุการณ์โรคในประเทศ
เปิดสถิติ "ไข้หวัดใหญ่" ปี 2566 ทั่วประเทศป่วยพุ่งกว่า 4.6 แสนราย

ไข้หวัดใหญ่มาแรง ปี 2566 ทั่วประเทศป่วยกว่า 4.6 แสนราย พบ "โคราช" ยอดป่วย 8 สัปดาห์ย้อนหลัง 6 พันกว่าราย แนะประชาชนดูแลสุขภาพ

วันที่ 7 มกราคม 2567 มีรายงานว่า กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ล่าสุด ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 26 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว 467,899 ราย อัตราป่วย 707.10 ต่อประชากรแสนคน 

โดยมีผู้เสียชีวิต 13 ศพ เป็นผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี และกลุ่มอายุ 7-9 ปี ตามลำดับ 

ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นจากอิทธิพลของความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้มีอากาศเย็นในตอนกลางคืนและเช้า ส่วนตอนกลางวันอาการจะค่อนข้างร้อน ซึ่งสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ มีผลทำให้เชื้อไวรัสอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน แพร่กระจายได้ง่ายและเร็วขึ้น

อีกทั้งทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลด โดยเฉพาะกลุ่ม 608 และเด็กเล็ก จะมีความเสี่ยงสูงสามารถติดเชื้อได้ง่าย โดยรับเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศขณะที่ผู้ป่วยไอ จาม ในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น และเชื้อยังแพร่ผ่านการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ รถสาธารณะ เป็นต้น ความเสี่ยงการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่จึงเพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่ง 4 จังหวัดในพื้นที่ดูแลของเขตสุขภาพที่ 9 ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์

ทั้งนี้ นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่น่าเป็นห่วงอย่างมาก จากรายงานล่าสุด พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 23 ธันวาคม 2566 มียอดผู้ป่วยสะสมมากถึง 58,430 ราย และมีรายงานผู้เสียชีวิต 3 ศพ เป็นผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ซึ่งสถานการณ์การระบาดของโรคในช่วง 8 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2566 - 24 ธันวาคม 2566 หรือประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 10,808 ราย โดยพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี และกลุ่มอายุ 10-14 ปี ตามลำดับ 

เมื่อจำแนกสถานการณ์ 8 สัปดาห์ย้อนหลังในแต่ละพื้นที่ พบว่า ช่วงวันที่  29 ตุลาคม – 23 ธันวาคม 2566 จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดนครราชสีมา พบผู้ป่วยมากถึง 6,043 ราย รองลงมาคือ จังหวัดสุรินทร์ 2,019 ราย, จังหวัดชัยภูมิ 1,645 ราย และจังหวัดบุรีรัมย์ 1,101 ราย

โดยอำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา คิดเป็นอัตราป่วย 551.71 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ คิดเป็นอัตราป่วย 533.59 ต่อประชากรแสนคน และอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา คิดเป็นอัตราป่วย 511.38 ต่อประชากรแสนคน 

จำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ปี พ.ศ. 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2561-2565) พบความผิดปกติของการเกิดโรค เนื่องจากมีผู้ป่วยมากกว่าค่ามัธยฐานตั้งแต่สัปดาห์ ที่ 6 คือในช่วง 1 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นช่วงฤดูหนาว และมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 21 ช่วงวันที่ 21-27 พฤษภาคม ซึ่งเข้าฤดูฝนแล้ว และมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 39 ช่วงวันที่ 24-30 กันยายน 2566

จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังรักษาสุขภาพ ดูแลอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะประชาชนใน 7 กลุ่มเสี่ยง ที่ป่วยแล้วจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และผู้สูงอายุ ต้องดูแลสุขอนามัย รักษาความอบอุ่นร่างกาย และควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง และในกรณีที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ ให้สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงไปในที่มีฝูงชนจำนวนมาก หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 

สำหรับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ นอกจากจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ ตาแดง และหนาวสั่นแล้ว มักจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลียร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่ในกลุ่มเสี่ยงหากรับประทานยาเบื้องต้นแล้วอาการรุนแรง ไม่ดีขึ้น ขอให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาโดยเร็ว โดยหากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422.

 

แหล่งที่มา :

https://www.thairath.co.th/news/local/2753328?gallery_id=1

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า