News

Home > News

News

เหตุการณ์โรคในประเทศ
 

ไข้หวัดใหญ่...มาแรง ป่วยนาน..ระบาดวงกว้าง

icon 11/12/2566 เหตุการณ์โรคในประเทศ
ไข้หวัดใหญ่...มาแรง ป่วยนาน..ระบาดวงกว้าง

นอกจากโควิด-19 แล้ว โรคที่รุนแรงไม่แพ้กันเห็นจะเป็น “ไข้หวัดใหญ่” หรือ Influenza ที่หากป่วยแล้วมีความรุนแรงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบ หืด โรคหัวใจ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง ฯลฯ

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงจมูก ลําคอ และปอด โดยปกติสามารถหายได้เอง แต่หากเกิดภาวะ แทรกซ้อนก็อาจจะทำให้เป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้

อาการของไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจจะเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดาซึ่งจะค่อยๆ แสดงอาการ โดยอาการของโรคหลักๆก็คือ  มีไข้ หนาวสั่น และเหงื่อออก ปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  เจ็บคอ ไอแห้ง ปวดตา มีน้ำมูก จาม หายใจถี่ ท้องเสียและอาเจียนซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สามารถพักรักษาตัวที่บ้านได้ เว้นแต่ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ เวียนศีรษะ ชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว  เพื่อรับยาต้านไวรัส ที่จะช่วยให้หายป่วยได้เร็วขึ้นและป้องกันอาการไม่ให้ทรุดหนัก
ในเด็ก หากเป็นไข้หวัดใหญ่และมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลําบาก มีภาวะขาดน้ำ ปากเขียว ชัก ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ คนทั่วไปอาจสัมผัสเชื้อไวรัสจากละอองฝอยในอากาศ เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูดคุย คนทั่วไปอาจสูดรับเชื้อโรคทางลมหายใจหรือสัมผัสเชื้อที่ติดอยู่บนพื้นผิวของวัตถุ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือคีย์บอร์ด โดยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนแสดงอาการ และยังสามารถแพร่เชื้อได้ต่อไปอีก 5 วันหลังแสดงอาการ ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องจะสามารถแพร่เชื้อได้นานกว่า

ที่น่ากังวลคือ มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หากได้รับวัคซีนหรือป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อน ร่างกายมักมีภูมิต้านทานโรค หากเชื้อไวรัสตัวใหม่นั้นมีความใกล้เคียงกับเชื้อตัวเก่าที่เคยเป็น ร่างกายจะมีแอนติบอดีป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไประดับแอนติบอดีในร่างกายจะลดลง หากสัมผัสกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยรู้จักมาก่อน แอนติบอดีที่มีอยู่เดิมจะไม่สามารถสู้กลับและป้องกันการติดเชื้อได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่  กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป อาศัยหรือทำงานในที่แออัด มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคเอชไอวี/เอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ การใช้สเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคตับ โรคเลือด โรคระบบประสาท กระบวนการทำงานทางชีวเคมีผิดปกติ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะระหว่างไตรมาสที่ 2 หรือ 3 โรคอ้วน

โดยทั่วไป คนหนุ่มสาวซึ่งมีสุขภาพดีมักหายจากไข้หวัดใหญ่ได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  ภาวะหายใจลําบากเฉียบพลัน โรคหอบหืดกำเริบ หลอดลมอักเสบ หูอักเสบ โรคหัวใจ โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ ซึ่งอันตรายมากในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่  ซึ่งจะสามารถลดความรุนแรงของอาการและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ อาการของโรคไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 มีความคล้ายคลึงกัน การฉีดวัคซีนไข้หวัด ใหญ่สามารถลดและป้องกันความสับสนระหว่างโรคทั้งสองได้  

ส่วนที่มีข้อสงสัยเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และไข้หวัดใหญ่ในเวลาเดียวกันนั้นทำได้หรือไม่ คำตอบคือทำได้ และการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังสามารถทำได้ในกรณีผู้แพ้ไข่ขาวด้วย อย่างไรก็ตาม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100%  สุขอนามัยที่ดีจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยป้องกันการติดเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  ล้างมือเป็นประจําด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่สัมผัสตา จมูก และปาก เมื่อจะจามหรือไอ ควรจามหรือไอใส่ข้อศอกหรือกระดาษทิชชู่ และล้างมือทุกครั้ง ทำความสะอาดโทรศัพท์หรือพื้นผิวของสิ่งของที่สัมผัสบ่อย หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด หลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

การตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ทำได้โดยการตรวจร่างกาย ซักอาการป่วย และทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 ได้พร้อมกัน และอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยทั้งสองโรค

การรักษาไข้หวัด ใหญ่ เริ่มง่ายๆเลยคือ การพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำเปล่า หรือซุปอุ่นๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ พักผ่อนและนอนหลับเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ เช่น อาการปวดหัวและปวดเมื่อย และควรพักผ่อนอยู่บ้านจนกว่าจะหายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวและชุมชน งดพบปะผู้อื่นเมื่อป่วย ล้างมือบ่อยๆ หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านหรือไปโรงพยาบาลให้สวมหน้ากากอนามัยเสมอ

 

แหล่งที่มา:

https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2746575

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ศูนย์รวมข้อมูลโรคติดต่อ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
บันทึกการตั้งค่า